พูดคุย แนะนำ ทั่วไป > โรคที่มักพบ
โรคลำไส้อักเสบ
(1/1)
ขายหมา:
โรคลำไส้อักเสบ ( Parvoviral Enteritis)
โรคลำไส้อักเสบหรือโรคลำไส้อักเสบพาร์โวไวรัส (Parvoviral Enteritis) เป็นโรคติดต่อของ ระบบทางเดินอาหารที่มีการระบาดได้อย่างรวดเร็วลูกสุนัขป่วยตายเนื่องจากสูญเสียเลือดและน้ำจาก ร่างกายกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ซึ่งเป็นปัญหาต่อการเลี้ยงลูกสุนัขในประเทศ ไทยค่อนข้างมาก สาเหตุ เกิดจากเชื้อเคไนน์ พาร์โวไวรัส ไทป์ 2 การติดต่อเกิดขึ้นโดยการกินอาหาร หรือน้ำทีปนเปื้อนเชื้อในอุจจาระ น้ำลาย หรือสิ่งอาเจียนของสัตว์ป่วย
อาการ ลูกสุนัขอายุ 3-8สัปดาห์ อาจตายกระทันหันเนื่องจากหัวใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ส่วนมากสัตว์มีไข้สูง อาเจียน เบื่ออาหาร ซึม สิ่งอาเจียนมีลักษณะเป็นมูกและมีน้ำดีปนออก มาด้วย ต่อมาท้องร่วงรุนแรง อุจจาระมีเลือดปน กลิ่นเหม็นเน่ามาก สัตว์ป่วยเสียน้ำและเกลือแร่ออกจากร่างกายรวดเร็ว ทำให้อ่อนเพลีย และตายในที่สุด
การรักษา
1.ให้สารน้ำ เช่น สารละลายแลคเตต รินเจอร์ (Lactate Ringerus Solotion) ขนาด 90 ลูก บาศก์เซนติเมตรต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม หรือสารละลายโซเดียมไบคาร์บอเนต ทั้งนี้ขึ้นอยู่ กับสภาวะของร่างกาย
2.การใช้ยาระงับอาเจียน เช่น ไตรเมโทรเบนซาไมค์ (Trimethobenzamide) ขนาด 3 มิลลิ กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ยานี้ออกฟทธิ์ที่ศูนย์ควบคุม การอาเจียนที่สมองโดยตรง บาง ท่านนิยมให้ยาระงับอาเจียนจำพวก อะโทนปินซัลเฟต (Atropine Sulphate) ซึ่งก็ให้ผลดี แต่ข้อคำนึงถึง คือ ยานี้มีผลทำให้สารพิคั่งค้างในลำไส้เล็กได้นานขึ้น และมีการดูดซึม สาร พิษกลับเข้าสู่ร่างกายทำให้สุขภาพทรุดโทรมยิ่งขึ้น
3.ให้ยาน้ำคาโอลิน-เพ็คติน (Kaolin-Pectin) เพื่อให้ยานี้เคลือบเยื่อลำไส้และดูดซับสารพิษ ต่าง ๆ แต่ควรให้เมื่อสามารถระงับอาเจียนได้แล้ว
4.ให้ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้างเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย
5.ควรงดอาหารและน้ำอย่างน้อย 24 ชั่วโมง จนกระทั่งอาการท้องร่วงทุเราลง การป้องกัน ควรฉีดวัคซีนตามเวลาที่เหมาะสม ครั้งแรกเมื่อสุนัขอายุได้ 2-2 เดือนครึ่ง และฉีดกระตุ้น ซ้ำเมื่ออายุได้ 3 เดือนครึ่ง-4 เดือน หลังจากนั้นควรฉีดให้สุนัขทุกปีๆ ละ 1 ครั้ง (หมายเหตุ เนื้อเรื่องมี 2 เรื่อง)
โรคลำไส้อักเสบติดต่อจากเชื้อไวรัส (Canine viral Enteritis)
พบมากในสุนัขอายุ 2 - 6 เดือน
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส Parvovirus , Coronavirus
อาการ หลังจากรับเชื้อเข้าไป 7 - 10 วัน สุนัขจะเริ่มอาเจียนบ่อย มีไข้สูงต่ำสลับกัน เบื่ออาหาร ซึม อุจจาระเหลว ท้องร่วงอย่างรุนแรง อุจจาระเป็นน้ำ สีน้ำตาล หรือปนแดง กลิ่นเหม็นมาก ช็อคจากการสูญเสียน้ำ เลือด และ พลังงาน ลูกสุนัขจะเสียชีวิตอย่างรวดเร็วเนื่องมาจาก เชื้อไวรัสทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
การติดต่อ ทางการสัมผัส หรือติดเชื้อจากอุจจาระของสุนัขที่ป่วย
การรักษา ไม่มียารักษาโดยตรง ต้องให้ยาช่วยตามอาการ แก้ไขภาวะขาดน้ำ ลดอาการแทรกซ้อน
การป้องกัน ฉีดวัคซีนตั้งแต่อายุ 2 เดือน และฉีดซ้ำหลังจากครั้งแรก 1 เดือน หลังจากนั้นฉีดทุกๆปี ปีละครั้ง
ทำไม? สุนัขจึงถ่ายเหลวบางตัวถ่ายไม่หยุดนอนหมดแรง และมักเกิดร่วมกับอาการอาเจียน
โดยเฉพาะในลูกสุนัข ที่มักมีอาการรุนแรงจนถึงแก่ความตาย ในเวลาอันรวดเร็วเป็นชั่วโมง หรือ 1-2 วัน แตกต่างจากในสุนัขโตอายุมากกว่า 1 ปี ที่มักพบอาการถ่ายเหลวจนเรื้อรัง คือ มีอาการถ่ายเหลวนานเกิน 7 วัน ทั้งๆ ที่สามารถกินอาหารได้ปกติ บางตัวกินอาหารเก่ง กินน้ำเก่ง แต่ร่างกายกลับดูผอมลง และมีน้ำหนักตัวลดลง อาการที่กล่าวมาข้างต้น ในสุนัขโตมันอันตราย แต่มักไม่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง สุนัขจะมีอาการถ่ายเหลวไม่หยุด บางตัวมีเลือดปน ในช่วงนั้นจะเริ่มมีอันตรายมากขึ้น อาการท้องเสียที่พบในสุนัขโต มักพบเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการอักเสบของลำไส้ โดยเฉพาะส่วนของลำไส้เล็ก เราเรียกกลุ่มอาการนี้ เป็นภาษาอังกฤษว่า Inflammatory Bowel Disease (IBD) ซึ่งมีสาเหตุมาจาก เกิดการอักเสบหนาตัวขึ้นของลำไส้ เนื่องจากมีเม็ดเลือดขาวชนิด Lymphocyte , Plasma cell , Eosinophil มาสะสมเป็นจำนวนมากที่ลำไส้ ก่อนให้การรักษาสัตวแพทย์จะต้องมีการตรวจเลือด โดยเฉพาะการตรวจหาค่าโปรตีนในเลือด (Albumin , Globulin) ค่าซีรั่มในเลือด และการตรวจ Biopsy ของลำไส้ เพื่อใช้เป็นข้อสรุปว่าสาเหตุเกิดจากกลุ่มอาการนี้ก่อนให้ยา
สาเหตุของการท้องเสียที่พบโดยทั่วไปมีสาเหตุมาจาก 2 แห่ง คือ
1. จากทางเดินอาหารโดยตรง คือกระเพราะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่
2. จากระบบอื่นในร่างกายที่ไม่ใช่ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ โรคตับ โรคตับอ่อนอักเสบ โรค Hyperthyroid พบบ่อยในแมว,โรค hypoadenocorticsm
การแบ่งประเภทการเกิดท้องเสียตามอาการที่เกิดแบ่งได้ 2 แบบคือ
1. แบบเฉียบพลัน
a. จากอาหารที่ให้กินมากเกินไป การเปลี่ยนอาหารทันที หรืออาหารให้กินไม่สะอาด บูดเน่า
b. จากพยาธิ์ในลำไส้ ได้แก่พยาธิ์ใส้เดือน พยาธิ์ปากขอ
c. จากโปรโตซัว ได้แก่เชื้อ Gliardia Coccidia
d. จากการติดเชื้อ ได้แก่เชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย
e. จากการได้รับสารพิษต่างๆ เช่น สารพิษตะกั่ว
2. แบบเรื้อรัง
a. จากอาหาร ได้แก่ การแพ้อาหารที่กิน การขาดแลคโตส
b. จากพยาธิ์ในลำไส้ และโปรโตซัว
c. การติดเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะการเกิด Bacteria overgrowth ในลำไส้เล็ก (SIBO)
d. จากการสะสมของเซลเม็ดเลือดขาวชนิด Eosinophil Plasma Cell Lymphocyte โดยเฉพาะที่ลำไส้ใหญ่ส่วนโคลอน พบบ่อย ในสุนัขพันธุ์บอกเซอร์ อัลเซเชียน เรียกกลุ่มนี้ว่าเป็น IBD
e. การเกิดเนื้องอกที่ทางเดินอาหาร เช่น Diffuse Lymphosarcoma , Adenocarcinoma
กลุ่มอาการ IBD ดังกล่าวจะทำให้เกิดการสูญเสียโปรตีน ในทางเดินอาหาร ในปัจจุบันการรักษาแผนใหม่ ที่จะควบคุมอาการดังกล่าว นอกจากใช้ยาลดการอักเสบจำพวกเสตียร์รอยด์ที่ใช้ในการรักษาเบื้องต้น ไม่สามารถจะให้เป็นเวลานานๆ เนื่องจากมีผลข้างเคียงของยา จึงมีการพิจารณาในเรื่องของอาหาร ที่ให้สัตว์กินในระยะยาวร่วมด้วย
อาหารที่จะต้องใช้ ควรให้อาหารที่มีการควบคุมชนิดของโปรตีน ที่ย่อยง่าย และมีกรดอะมิโน ที่จำเป็นอยู่ในอาหารด้วย ลดปริมาณไขมันในอาหารท้องเสีย เพราะการที่ไขมันสูงทำให้การดูดซึมอาหาร ที่กินเข้าไปน้อยลงโดยเฉพาะในรายที่มีปัญหาของตับอ่อนอักเสบ หรือการขาดเอ็นไซม์ของตับอ่อน ไม่ควรให้กินอาหารที่มีไขมัน เนื่องจากร่างกายขาดเอ็นไซม์ที่จะย่อยไขมัน โดยทั่วไปจะเลือกเป็นอาหาร ที่ทำให้เกิดการแพ้น้อยที่สุดพบว่า Eukanuba Low-Residue เป็นตัวเลือกหนึ่งในการรักษา
นอกจากนี้อาจเกิดมาจากการอักเสบของถุงน้ำดีในร่างกายทำให้เกิดอาการท้องเสียเรื้อรัง ก่อนการพิจารณาเลือกชนิดของอาหารที่จะให้แก่สัตว์ที่มีอาการท้องเสีย ควรจะทราบก่อนว่าการท้องเสียนั้น มีสาเหตุมาจากอะไร และโดยทั่วไปอาหารที่เหมาะสมควรมีคุณสมบัติดังนี้
1. เป็นอาหารที่ย่อยง่าย
2. มาจากแหล่งอาหารโปรตีนอย่างเดียวและมีคุณค่าทางโปรตีนแต่ไม่สูงเกินไป เช่น โปรตีนจากเนื้อแกะ กระต่าย ไก่ ปลา กวาง 3. มาจากแหล่งอาหารคาร์โบไฮเดรตแหล่งเดียวปราศจาก Gluten ควรใช้แหล่งจากข้าว มันฝรั่ง มันสัมปะหลัง ข้าวโพด (บางตัวอาจแพ้ข้าโพด)
4. ปรับปริมาณของกรดไขมันในอาหาร (Omega3-Omega6 ratio 5:1-10:1)
5. มีปริมาณสายใยอาหารที่พอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป (3-7 เปอร์เซนต์ของอาหารสายใยทั้งหมด)
6. มี fermentable fiber ที่พอดี
7. ลดปริมาณไขมัน
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
Go to full version