เรื่อง: โรคต่อมลูกหมากโตในสุนัข (Benign Prostatic Hyperplasia in dogs)
 
 921

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

My Name: ขายหมา ออฟไลน์
Administrator
เพศ: ชาย
  • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
24 ก.ค. 64, 19:26:20น.
โรคต่อมลูกหมากโตในสุนัข  (Benign  Prostatic Hyperplasia in dogs)

ต่อมลูกหมากคืออะไร ?

   ต่อมลูกหมากเป็นต่อมที่อยู่บริเวณคอกระเพาะปัสสาวะในสุนัขเพศผู้ ซึ่งจะพบท่อปัสสาวะพาดผ่านต่อมลูกหมากจากกระเพาะปัสสาวะและออกสู่ภายนอก  หน้าที่ของต่อมลูกหมากคือเพื่อสร้างน้ำเลี้ยงน้ำเชื้อให้กับอสุจิ และต่อมลูกหมากจะได้รับการกระตุ้นการทำงานจากฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (testosterone)
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง   



   โรคต่อมลูกหมากโตในสุนัข เป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคที่เกิดกับต่อมลูกหมากของสุนัขเพศผู้ ซึ่งเกิดจากตอบสนองของฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน โดยพบว่าสุนัขบางตัวก็เกิดอาการบางตัวก็ไม่เกิดอาการ โดยมากมักพบในสุนัขเพศผู้ที่ยังไม่ทำหมันแบะเริ่มมีอายุมากขึ้น หรือมากกว่า 4 ปีขึ้นไป
อาการ

   ในระยะแรกอาจจะไม่แสดงอาการอะไรเลย ต่อมาอาจจะเกิดอาการปัสสาวะกระปริบกระปรอย หรือปัสสาวะเป็นหยด กองเล็กๆ สีปัสสาวะผิดไปจากปกติ อาจจะมีสีเข้มขึ้น ขุ่น หรือมีเลือดปน หรือบางตัวพบว่ามีน้ำปัสสาวะปนเลือดติดอยู่ที่ปลายอวัยวะเพศ หรือบางรายอาจจะมีด้วยอาการท้องผูก ถ่ายไม่ออก พยายามเบ่งถ่าย ถ้าเจ้าของสังเกตุอาการช้า สุนัขอาจจะมีอาการปวดตามมาได้ อาจจะทำให้เกิดอาการซึม ไม่ทานอาหาร หรือมีไข้ตามมาได้ อาจจะพบการติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะ หรือการติดเชื้อที่ต่อมลูกหมากร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้
การวินิจฉัย

   สัตวแพทย์จะคลำตรวจต่อมลูกหมากผ่านทางช่องทวารหนัก จะพบว่ามีการขยายขนาดเท่ากันทั้งสองฝั่ง ในระยะแรกจะอาจจะไม่พบการอักเสบ กดแล้วจะไม่เจ็บ สามารถตรวจยืนยันได้ด้วยการเอ๊กเรยช่องท้อง และการอัลตราซษวด์สามารถใช้เพื่อตรวจดูคามผิดปกติของเนื้อเยื่อในต่อมลูกหมากได้ ว่ามีลักษณะผิดปกติอื่นๆหรือไม่ เช่น ถุงน้ำ หรือก้อนเนื้องอก เป็นต้น หากมีการตรวจดูน้ำเชื้ออาจจะพบว่ามีเซลล์อักเสบหรือมีเซลล์เม็ดเลือดแดงได้
การรักษา

   การรักษา รวมทั้งการป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ คือการให้สุนัขทำหมันโดยการผ่าตัดเอาอัณฑะออก ภายหลังการทำหมันจะทำให้การทำงานของต่อมลูกหมากลดลง และอาการจะดีขึ้นภายในระยะเวลา 2-3 เดือน แต่ถ้าหากเป็นสุนัขที่ต้องเป็นพ่อพันธุ์ หรือมีปัญหาสุขภาพบางอย่างทำให้ไม่สามารถผ่าตัดทำหมันได้ สัตวแพทย์อาจจะแนะนำให้ใช้ฮอร์โมน (finasteride) รักษาได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันโรคเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก จึงควรทำหมันในสุนัขเมื่ออายุยังไม่มาก

ที่มา :
https://www.akc.org/expert-advice/health/pancreatitis-in-dogs/
https://www.msdvetmanual.com/reproductive-system/prostatic-diseases/benign-prostatic-hyperplasia-in-dogs-and-cats


Tags: