เรื่อง: สุนัขกับโรคอ้วน
 
 3138

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

My Name: ขายหมา ออฟไลน์
Administrator
เพศ: ชาย
  • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
08 ต.ค. 57, 23:13:19น.
สุนัขกับโรคอ้วน
   ในช่วงที่ผ่านมาเราคงได้เห็นโฆษณาที่เกี่ยวกับสุนัข “โรคอ้วนระบาด” สุนัขก็จำเป็นต้องได้รับการรักษาให้ทันท่วงที กับรอบเอวที่หายไป โรคภัยที่จะตามมา เช่นเดียวกับมนุษย์ 
   ในทางการแพทย์จะใช้วธีการทางวิทยาศาสตร์เชิงปริมาณในการกำหนดโรคอ้วน คือ ดัชนีมวลน้ำหนักตัว ผลสำรวจบอกว่า มีแนวโน้มการเพิ่มของอัตราโรคอ้วนของชาวอเมริกันเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 500 ของทั้งหมด

   การตรวจวัดโรคอ้วนในสุนัขเป็นการประเมินแบบรายบุคคล จะประเมินโดยสัตวแพทย์ที่ผ่านการอบรมการประเมินสถานะน้ำหนักของสุนัข การใช้คะแนนสภาพร่างกาย เรียกว่า BCS จะเป็นลักษณะแผนภูมิซึ่งยากที่เจ้าของจะอ่าน เพื่อตีความหมายแทนสัตวแพทย์ได้ ในการวัดมีสองรูปแบบ แบบแรกคือ สเกลห้าระดับ หนึ่งคือสุนัขผอมแห้ง สามคือสมบูรณ์ และห้าคือสุนัขอ้วนอย่างชัดเจน แบบที่สองคือ สเกลเก้าระดับ ห้าคือสมบูรณ์ เก้าคือสุนัขอ้วนอย่างชัดเจน สัตวแพทย์จะให้คะแนนสภาพร่างกายของสุนัขและประเมินสถานะของโรคอ้วน

   จากน้ำหนักที่เกินบ่งบอกว่าอาจะเป็นโรคอ้วน จริงๆแล้วมันยังเป็นเหตุส่งผลต่อโรคภัยอื่นๆที่ตามมาอีกมากมาย น้ำหนักที่มากเกินไปเริ่มจะส่งผลอย่างแรกเลยกับซี่โรง กระดูกสันหลังและสะโพก หากจะสังเกตง่ายๆคือ หา “เอว” ไม่เจอ หรือท้องเค้าอ้วนบวมจนจะติดพื้น ส่งผลให้การเดิน การเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างลำบาก ไม่สะดวก ความอ้วนยังส่งผลต่อการเจริญเติบโต และปัญหาอีกมากมาย เช่น หัวใจล้มเหลว หลอดลมอักเสบ หลอดลมกล่องเสียงเป็นอัมพาต ติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ
   จากความด้วนที่ทำให้แม้แต่การเดินยังลำบาก ความสุขในการเพลิดเพลินวิ่งเล่นก็คงจะหมดไป การออกกำลังเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงก็คงจะเหนื่อยเกินไป สิ่งที่ทำได้เมื่อเกิดภาวะโรคอ้วนแล้วนั้น เจ้าของต้องเคร่งครัดเรื่องอาหาร เรื่องการออกกำลังกาย อาหารควรจะมีแคลอรี่น้อย ควบคุมให้เช่นกับคนที่เมื่อเวลาต้องการลดน้ำหนัก แต่ละอาหารที่ให้กินต้องคำนวณปริมาณแคลอรี่เพื่อความเหมาะสม ต้องเริ่มให้ออกกำลังกายจากทีละน้อยๆ ไปจนถึงเวลายาวนานขึ้น หรืออาจจะเป็นแค่การเดินเล่น โดยเจ้าของจูงสายจูงเค้า เดินในระยะทางที่น้อยแล้วค่อยเพิ่มไปเรื่อยๆ จะช่วยให้เค้าได้เผาผลาญไขมันส่วนเกิน ได้กำลังขา ออกกำลังแต่ละส่วนของร่างกาย และระบบการหายใจที่ดี ลดภาวะโรคแทรกซ้อนต่างๆได้

   สายพันธุ์ที่ยังไงก็ต้องอ้วน คงไม่พ้น ปั๊ก เฟรนบลูด๊อกซ์ แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องต้องปล่อยปละละเลยเค้านะค่ะ ถ้าอยากให้เค้าอยู่กับเราไปนาน ๆ ๆสุขภาพดีอยู่ตลอด เราต้องใส่ใจเค้าตั้งแต่วันนี้ค่ะ
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 ธ.ค. 63, 09:58:38น. โดย ขายหมา

Tags: